1. บ้านผู้สูงอายุ เปิด - ปิดง่าย

สำหรับผู้สูงอายุหลายๆ คน การเปิด-ปิด ไม่ว่าจะเป็นลูกบิดประตู ก็อกน้ำที่เป็นแบบหมุนในห้องครัว ห้องน้ำ ไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นการเปลี่ยนที่จับในการเปิด-ปิดประตู จากลูกบิดมาเป็นแบบด้ามเรียบๆ ที่จับถนัดมือ จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกมากขึ้น รวมไปถึงการเปลี่ยนก็อกน้ำในห้องน้ำ ห้องครัว จากแบบหมุนมาเป็นแบบยกแทน ก็จะช่วยให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น อีกทั้งควรอยู่ในระดับที่ไม่ต้องเอื้อมหรือเขย่งเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ หากมีงบประมาณมากพอเราขอแนะนำให้เปลี่ยนประตูเป็นแบบบานเลื่อน เพราะนอกจากจะประหยัดพื้นที่ใช้งานภายในบ้านแล้ว ยังสะดวกต่อการใช้งานและมีความปลอดภัย แถมตอบโจทย์บ้านที่มีสมาชิกสูงวัยที่นั่งรถเข็นอีกด้วย

2. พื้นบ้านปลอดภัย

เพราะทักษะในการทรงตัวของผู้สูงอายุย่อมมีน้อยกว่าวัยอื่นๆ พื้นบ้านจึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ต้องเตรียมให้พร้อมเพื่อผู้สูงอายุ ควรเลือกวัสดุปูพื้นที่มีผิวสัมผัสไม่เรียบจนเกินไป หรือมีความฝืดของพื้นผิวสัมผัสเพื่อลดการกระแทก ไม่ยกพื้นต่างระดับ หากมีการปูพื้นเอาไว้อยู่แล้ว แนะนำว่าให้ฉีดหรือทาน้ำยาลดความมันวาวและความลื่นของกระเบื้อง และไม่ควรปูพรมในตัวบ้านและทางเดินภายในบ้าน เพราะนอกจากจะเป็นแหล่งสะสมฝุ่นและเชื้อโรคแล้ว อาจทำให้ผู้สูงวัยเกิดการสะดุดล้มได้ นอกจากนี้ไม่ควรมีธรณีประตูมากั้นทั้งในห้องครัว ห้องน้ำ และห้องนอน ซึ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะห้องน้ำต้องแบ่งแยกโซนแห้งและเปียกให้ชัดเจน พร้อมติดตั้งแผ่นกันลื่นและราวจับให้มั่นคง และขยายห้องน้ำให้สามารถรองรับการใช้วีลแชร์ได้

3. บันไดปลอดภัย

หากบ้านผู้สูงอายุที่มีมากกว่า 2 ชั้นขึ้นไป การขึ้น-ลงบันไดอาจเป็นเรื่องยากสำหรับผู้สูงอายุ และอาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ดังนั้นจึงควรติดตั้งราวจับทั้งสองข้างของบันได ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับขอบบันได และควรติดแผ่นกันลื่นทุกขั้นเพื่อลดโอกาสการลื่นตกจากบันได นอกจากนี้ควรปรับความกว้างของบันไดให้เหมาะสม โดยลูกตั้งบันไดไม่ควรสูงเกิน 15 ซม. ลูกนอนควรกว้างอย่างน้อย 30 ซม. ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้การใช้ชีวิตของผู้สูงอายุในบ้านเป็นไปได้อย่างราบรื่นและปลอดภัย

4. แสงสว่างเพียงพอสำหรับผู้สูงอายุ

พื้นที่ในบ้านที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอนั้น นอกจากส่งผลกับประสาทการมองเห็นแล้ว ยังทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายอีกด้วย โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุที่สายตาเริ่มพร่ามัวและสายตายาว อาจทำให้เดินชนสิ่งของหรือสะดุดล้มได้ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้มีแสงสว่างที่เพียงพอ ทั้งแสงสว่างจากหลอดไฟและแสงจากธรรมชาติ ถือเป็นสิ่งที่ควรทำและเช็กให้มั่นใจสำหรับทุกห้องภายในบ้าน เพื่อให้เพียงพอต่อการทำกิจกรรมหรือใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุในบ้านได้อย่างปลอดภัย

5. ติดตั้งเครื่องส่งสัญญานช่วยเหลือ

นอกเหนือจากความปลอดภัยภายในตัวบ้านแล้ว เรายังต้องเฝ้าระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการขัดข้องของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้าน หรือเหตุร้ายต่างๆ ที่มาจากภายนอกอีกด้วย ดังนั้นจึงควรติดตั้งเครื่องส่งสัญญานให้ครอบคลุมทั่วบริเวณบ้าน ทั้งห้องน้ำ ห้องนอน ห้องครัว ห้องนั่งเล่น เพื่อให้ส่งสัญญานไปยังสมาร์ทโฟนของลูกหลานหรือผู้ดูแลได้ทันท่วงทีหากเกิดเหตุฉุกเฉิน ซึ่งในปัจจุบันนวัตกรรม Smart Home สำหรับผู้สูงอายุเหล่านี้สามารถเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ตได้แล้ว จึงง่ายต่อการดูแลผู้สูงอายุภายในบ้านที่อยู่ตามลำพังได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

6. เชื่อมสิ่งแวดล้อมกับบ้าน

ด้วยข้อจำกัดด้านสุขภาพร่างกาย ทำให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้เวลาอยู่แต่ในบ้านมากกว่าการออกไปข้างนอก ดังนั้นนอกจากเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้านสำหรับผู้สูงอายุแล้ว อีกหนึ่งไอเดียเตรียมบ้านสำหรับผู้สูงอายุ คือการสร้างความผ่อนคลายโดยใช้สิ่งแวดล้อมรอบบ้านให้เป็นประโยชน์ เพื่อที่ผู้สูงอายุจะได้ไม่รู้สึกเบื่อหรือเหงาเมื่อต้องอยู่บ้านตามลำพัง โดยอาจเริ่มต้นด้วยการปรับระดับของหน้าต่างให้อยู่ในระดับสายตา ทั้งในห้องนอนและห้องนั่งเล่น ก็จะช่วยให้สามารถมองเห็นการเคลื่อนไหวของผู้คน วิวธรรมชาติ ความสวยงามของต้นไม้และดอกไม้ในสวนข้างบ้านหรือหลังบ้าน ถือเป็นอีกวิธีที่ทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขและรู้สึกปลอดภัยไปพร้อมๆ กัน เมื่อต้องอยู่บ้านเพียงลำพัง

สำหรับใครที่ชื่นชอบบทความแบบนี้ ชลบุรีน่าอยู่ยังมีบทความดี ๆ เกี่ยวกับอสังหาฯ การท่องเที่ยว  การเดินทาง เศรษฐกิจ ภาคตะวันออก และอีกมากมายที่รอให้คุณได้ค้นพบที่ https://nayoo.co/chonburi

ไม่อยากพลาดข้อมูลข่าวสารดีๆที่จะช่วยตอบโจทย์ในการช่วยคุณที่พักอาศัย การลงทุน อย่าลืมกดไลก์ กดติดตามและกดแชร์ "ชลบุรีน่าอยู่" หาบ้าน ที่ดิน คอนโด หอพัก ทั่วเมืองชลบุรี🏡"มองหาที่อยู่ คิดถึงชลบุรีน่าอยู่"🏡

📌สนใจลงโฆษณา & ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
🔵Facebook : ชลบุรีน่าอยู่
✅Line Official : @ChonburiNaYoo
📞Tel : 099-1254780
📥Email : info.chonburinayoo@gmail.com