หลายๆท่านคงคุ้นเคยกับคำว่า “รีไฟเเนนซ์” กันอยู่เเล้ว ตั้งเเต่รีไฟเเนนซ์รถยนต์ รีไฟเเนนซ์บ้าน จนไปถึงการรีไฟเเนนซ์บัตรเครดิต ซึ่งขอนเเก่นน่าอยู่จะขอพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับรีไฟเเนนซ์บ้านกันมากขึ้น

ทำความรู้จัก “รีไฟเเนนซ์บ้าน”

การรีไฟเเนนซ์บ้าน เป็นการขอเงินกู้จากสถาบันการเงินใหม่ เพื่อไปชำระเงินกู้เดิม ซึ่งเป้าหมายในการรีไฟเเนนซ์บ้านนั้น คือการลดอัตราดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายให้น้อยลงกว่าเดิม เมื่อจำนวนดอกเบี้ยลดลง ค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระเเต่ละงวดก็จะถูกลงตามไปด้วย เเน่นอนว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน หรือช่วยร่นระยะเวลาในการเป็นหนี้ที่สั้นลง  ทำให้เราสามารถผ่อนบ้านได้เร็วยิ่งขึ้นนั่นเอง

เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย “รีไฟเเนนซ์บ้าน”

ข้อดี

  • ผ่อนบ้านในอัตราดอกเบี้ยต่ำลง
  • ลดค่าใช้จ่ายในเเต่ละงวด
  • เพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน

ข้อเสีย

  • การดำเนินค่อนข้างยุ่งยาก
  • เสียเวลาในการเตรียมเอกสาร
  • มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
  • เสียค่าธรรมเนียมในการยื่นกู

จากที่กล่าวมาในข้างต้นนั้น นอกจาการเปรียบเทียบข้อดีเเละข้อเสียของการรีไฟเเนนซ์บ้านเเล้ว  ควรพิจารณาอัตราดอกเบี้ยจากสถาบันการเงินเดิมกับสถาบันการเงินใหม่ที่ตนเองสนใจ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายต่างๆที่จะเกิดขึ้นจากการย้ายสถาบันการเงิน ร่วมประกอบการตัดสินใจอีกด้วย เพราะการรีไฟเเนนซ์ไม่ใช่เพียงเเค่การเลือกสถาบันการเงินสถาบันไหนก็ได้ เเต่ควรพิจารณาปัจจัยอื่นๆเพื่อให้เกิดประโยชน์เเละความคุ้มค่าสูงสุดของผู้ยื่นกู้ด้วย

ขอนเเก่นน่าอยู่ก็ได้รวบรวมอัตราดอกเบี้ย ประจำเดือนธันวาคม2565 ของเเต่ละธนาคารมาให้กับผู้อ่านเเล้ว

ค่าใช้จ่าย “รีไฟเเนนซ์บ้าน”

ในขั้นตอนการรีไฟเเนนซ์บ้านนั้น มีค่าใช้จ่ายที่ผู้ยื่นกู้จำเป็นต้องชำระหากต้องการรีไฟเเนนซ์บ้าน ขอนเเก่นน่าอยู่จึงได้รวบรวมค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นมาให้ผู้อ่านเเล้ว เพื่อนำไปใช้ในการคำนวณค่าใช้จ่ายว่ามีคุ้มค่ามากน้อยเเค่ไหน  ซึ่งมีค่าอะไรบ้างมาดูกันเลย

  • ค่าประเมินราคาหลักประกัน ประมาณ 0.25% ของราคาประเมิน
  • ค่าจดจำนองที่เราจะต้องจ่ายให้กับกรมที่ดิน โดยคิดเป็น 1% ของวงเงินกู้
  • ค่าธรรมเนียมการจำนอง น้อยกว่า 1% ของราคาประเมิน
  • ค่าสินเชื่อสัญญาใหม่ 0-1% ของวงเงินกู้ใหม่
  • ค่าประกันอัคคีภัย
  • ค่าอากรเเสตมป์ อัตรา 0.05% ของวงเงินกู้ใหม่

เเละอาจมีค่าใช้เพิ่มเติมนอกจากที่กล่าวมาในข้างต้น ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ควรนำไปพิจารณาในการตัดสินใจว่าคุ้มค่ากับดอกเบี้ยที่ลดลงหากมีการรีไฟเเนนซ์บ้านหรือเปล่า รวมไปถึงกรณีรีไฟเเนนซ์บ้านกับธนาคารเดิมที่ยังไม่ครบกำหนด 3 ปี จะต้องเสียค่าปรับประมาณ 0-3% ของวงเงินกู้ ดังนั้นขอนเเก่นน่าอยู่ขอเเนะนำว่า ควรรอรีไฟเเนนซ์บ้านเมื่อครบกำหนด 3 ปีจะดีกว่า