“กระเบื้องโปร่งเเสง” ตัวช่วยที่จะทำให้บรรยากาศภายในบ้านดูปลอดโปร่ง โล่งสบายตา จากปัญหาเวลาอยู่บ้านตอนกลางวันแต่บรรยากาศภายในบ้านกลับมืดทึบ ทำให้รู้สึกอึดอัด ไม่สดใสเอาเสียเลย
บางครั้งจำเป็นต้องเปิดไฟในตอนกลางวัน สิ่งที่ตามมาก็คือค่าไฟที่ต้องจ่าย แต่สุดท้ายบรรยากาศภายในบ้านก็ยังคงหมองหม่น พื้นที่บ้านดูแคบลงถนัดตา เพราะในความเป็นจริงไม่มีแสงไหนจะทำให้เรารู้สึกสบายตาเท่าแสงจากธรรมชาติ บทความนี้จะพาไปดูวิธีการง่ายๆ ในการปรับบ้านรับแสงธรรมชาติ ด้วยกระเบื้องโปร่งแสงกัน
กระเบื้องโปรงแสง คืออะไร
"กระเบื้องโปร่งแสง" หรือที่บางคนเรียกว่า “หลังคาใส” ตัวกระเบื้องจะสามารถให้แสงผ่านได้ 50-60 เปอร์เซ็น เหมาะสำหรับมุมที่ต้องการแสงสว่างจากธรรมชาติ เป็นได้ทั้งส่วนหนึ่งของหลังคาในงานออกแบบอาคาร ทั้งยังใช้ทำหลังคากันสาด หรือหลังคาส่วนต่อเติมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหลังคาโรงจอดรถ ครัว ระเบียงพักผ่อน
ด้วยคุณสมบัติเด่นที่ยอมให้แสงผ่านได้ ทำให้เกิดรูปแบบการใช้งานที่ต่างออกไป ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า ช่วยลดความอับชื้นได้ดี ผลิตจากวัสดุคุณภาพที่สามารถคงสภาพความใสได้ยาวนาน ทนต่อทุกสภาพอากาศ และทนความร้อนได้สูงถึง 80 ̊ C
ซึ่งในปัจจุบันมีวัสดุให้เลือกใช้มากมาย และเราได้รวบรวม 5 วัสดุหลังคาโปร่งแสงยอดนิยมในบ้านเรา เพื่อนำมาเปรียบเทียบคุณสมบัติ ข้อดี และข้อควรระวังต่างๆ เพื่อให้เจ้าของบ้านตัดสินใจในการเลือกซื้อได้ง่ายขึ้น
คุณสมบัติในด้านต่าง ๆ และราคาของกระเบื้องโปร่งแสง 5 ประเภท
1. กระเบื้องโปร่งแสงอะคริลิก
แผ่นโปร่งแสงอะคริลิกนั้น มีพื้นผิวเรียบ ใส เงา เหมาะกับการทำกันสาดหรือหลังคาโปร่งแสงสำหรับบ้านหลายสไตล์ โดยเฉพาะสไตล์โมเดิร์น อีกคุณสมบัติเด่น คือมีความใสเทียบเท่ากระจกแต่น้ำหนักเบากว่ามาก เนื้อเหนียว ดัดโค้งได้ ไม่กรอบหรือแตกลายงา ไม่เป็นฝ้า
มีทั้งรุ่นธรรมดาที่กรองแสงแดดได้ระดับหนึ่ง กับรุ่นที่กรองแสงและป้องกันความร้อนได้มากขึ้น สำหรับงานหลังคาโปร่งแสงหรือกันสาดโปร่งแสงจะใช้ที่ความหนา 6 มม. ซึ่งสามารถรับน้ำหนักได้สูงสุด 90 กิโลกรัมต่อตารางเมตรเลยทีเดียว
ข้อควรระวัง ของการใช้แผ่นโปรงแสงอะคริลิกคือ ต้องติดตั้งตามมาตรฐานตามระยะโครงสร้างที่บริษัทกำหนด หรือต้องติดตั้งด้วยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ที่สำคัญควรระวังรอยขีดข่วนจากของมีคมช่วงการติดตั้ง
ส่วนการดูแลรักษาหลังคาโปร่งแสงอะคริลิกให้ทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า หรือน้ำสบู่อ่อน ๆ ก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาเช็ดกระจก น้ำยาทำความสะอาดอื่น ๆ หลีกเลี่ยงการใช้ของมีคม แก๊สโซลีน แล็กเกอร์ และทินเนอร์ในการทำความสะอาดโดยเด็ดขาด เพราะจะไปทำลายผิวหน้าของแผ่นได้
2. กระเบื้องโปร่งแสงไฟเบอร์กลาส
แผ่นโปร่งแสงไฟเบอร์กลาสสำหรับทำกันสาดหรือหลังคาโปร่งแสงนั้น มีลักษณะแผ่นทั้งแบบลอนลูกฟูกและแบบเรียบ มีสีสันหลากหลายทั้งสีใสและสีขุ่น แสงส่องผ่านพอสบายตา โดยปริมาณของแสงที่ผ่านแต่ละสีก็จะไม่เท่ากัน
ที่ผิวด้านบนของแผ่นเคลือบสารป้องกัน UV เพื่อให้ใช้งานได้ยาวนาน และยังมีรุ่นที่ช่วยป้องกันความร้อนเป็นพิเศษด้วยเช่นกัน อีกทั้งน้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่น สามารถดัดโค้งได้ มีหลายความยาวให้เลือกตามการใช้งาน ซึ่งอาจจะมีเสียงฝนตกกระทบรบกวนอยู่บ้าง และสีอาจซีดจางได้ตามกาลเวลา
3. กระเบื้องโปร่งแสงกระจกลามิเนต
การทำหลังคาหรือกันสาดแบบกระจกใสควรเลือกใช้กระจกลามิเนต ซึ่งประกอบด้วยกระจก 2 แผ่นประกบกันแบบแซนด์วิช โดยมีฟิล์มกัน UV อยู่ตรงกลาง หากเกิดการกระแทกจนกระจกแตก กระจกจะเกาะกับชั้นฟิล์ม ไม่ร่วงหล่นลงมาทำอันตราย
ประเภทของกระจกที่นำมาประกบกันเป็นกระจกสามารถเลือกได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับการใช้งาน แต่โดยส่วนใหญ่เลือกใช้กระจกเทมเปอร์ ซึ่งเมื่อแตกจะมีลักษณะเหมือนเม็ดข้าวโพดไม่แหลมคม และความหนาของกระจกแต่ละชั้นมักจะใช้ที่ความหนา 4 หรือ 5 มม. โดยอาจจะใช้ความหนากระจกมากกว่านี้ก็ได้ขึ้นอยู่กับการออกแบบ แต่ก็จะมีน้ำหนักมาก ต้องเตรียมโครงสร้างรองรับทำให้ราคารวมยิ่งสูงขึ้น
ข้อดี ของการใช้กระจกเป็นหลังคากันสาดคือ เวลาฝนตกจะไม่ค่อยมีเสียงรบกวนมากนัก มีหลายสีให้เลือก ทั้งสีฟิล์มและสีกระจก เนื้อกระจกใสมองเห็นบรรยากาศภายนอกชัดเจน แต่ก็ควรหมั่นทำความสะอาดเป็นประจำ เพราะสกปรกได้ง่าย
โดยอาจเคลือบน้ำยาลดการเกิดคราบน้ำเพื่อลดความถี่ในการทำความสะอาด สิ่งที่สำคัญคือต้องติดตั้งให้ถูกวิธีโดยช่างผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ มีโครงสร้างรองรับที่แข็งแรง ใช้ยาแนวซิลิโคนให้ถูกประเภทและมีคุณภาพ
4. กระเบื้องโปร่งแสงโพลีคาร์บอเนต
กระเบื้องโปร่งแสงโพลีคาร์บอเนตมี 3 รูปแบบคือ แบบลอนลูกฟูก (แผ่นเรียบมีช่องว่าง) แบบตันเรียบ (โพลีชีทตัน) และแบบลอน มีให้เลือกหลากหลายสีสัน ทั้งแบบสีใสและสีขุ่นหรือผิวส้ม น้ำหนักเบา สวยงาม มีความยืดหยุ่น ดัดโค้งได้ หากใช้ทำกันสาดหรือหลังคาโปร่งแสงควรเลือกรุ่นที่ผ่านการเคลือบผิวกันแสง UV ด้วย ซึ่งในปัจจุบันมีหลายเกรด หลายราคา ตามคุณภาพและความแข็งแรง
สำหรับแผ่นโพลีคาร์บอเนตแบบลอนลูกฟูกซึ่งมีช่องว่าง และแบบลอนซึ่งมีช่วงที่แต่ละแผ่นซ้อนทับกัน จึงเป็นจุดที่น้ำหรือความชื้นสะสมจนทำให้เกิดตะไคร่และคราบสกปรกได้ง่าย เมื่อใช้งานไปนานๆ พื้นผิวแผ่นจะขุ่นมัว และสีอาจซีดจางไปตามอายุการใช้งาน และด้วยความบางและแข็งของแผ่นจึงมีเสียงดังพอสมควรเมื่อฝนตก ราคาจะขึ้นอยู่กับประเภท และความหนาของแผ่น รวมถึงลักษณะโครงสร้างที่รองรับ
5. กระเบื้องโปรงแสง uPVC
uPVC (Unplasticized Polyvinyl Chloride) เป็นวัสดุหลังคาที่มีลักษณะเป็นแผ่นลอน (รูปลอนใกล้เคียงกับลอนเมทัลชีท) โดยวัสดุ uPVC ที่เป็นแผ่นโปร่งแสงจะมีสีขาวขุ่นสีเดียว (แสงผ่านได้) มีน้ำหนักเบา เมื่อฝนตกกระทบหลังคาหรือกันสาดเสียงจะไม่ดังรบกวนมากนัก เนื้อวัสดุแข็งแรง เหนียว ดัดโค้งได้ แต่เมื่อใช้ไปนานๆ สีของวัสดุอาจเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพอากาศ
การเลือกกระเบื้องโปร่งแสงให้เหมาะกับบ้าน
อย่างไรก็ตาม วัสดุสำหรับที่ทำกระเบื้องโปร่งแสงหรือหลังคาใสที่จำหน่ายในท้องตลาดจะมีหลายเกรด เจ้าของบ้านควรเลือกใช้สินค้าที่มีการรับรองมาตรฐาน ผู้ผลิตเชื่อถือได้ มีรับประกัน รวมถึงเลือกใช้ช่างติดตั้งที่มีบริการหลังการขายด้วย
กระเบื้องโปร่งแสง SCG ตอบทุกโจทย์ความต้องการเรื่องหลังคา
“SCG HOME” พร้อมให้บริการติดตั้ง ปรับปรุง และจำหน่ายกระเบื้องโปร่งแสงและแผ่นโปร่งแสง SCG ที่มีให้เลือกสรรอย่างครบครัน ตอบโจทย์ครบทุกเรื่องหลังคาไม่ว่าจะเป็น แผ่นโปร่งแสงลูกฟูกลอนใหญ่ แผ่นโปร่งแสงลูกฟูกลอนเล็ก แผ่นโปร่งแสงแผ่นเรียบ แผ่นโปร่งแสงลูกฟูกลอนเล็ก แผ่นโปร่งแสงลอนคู่ แผ่นโปร่งแสงลอนบานเกล็ด แผ่นโปร่งแสงลอนกันสาด และอื่น ๆ อีกมากมาย
มีหลากหลายสีให้เลือกเพื่อให้เข้ากับทุกสไตล์การแต่งบ้าน มั่นใจได้ในมาตรฐานคุณภาพ ด้วยการผลิตจากเครื่องจักรที่ทันสมัย โดยใช้โพลีเอสเตอร์เรซินชนิดพิเศษและไฟเบอร์กลาสคุณภาพสูงเคลือบวัสดุปิดผิวด้วยฟิล์มทั้ง 2 ด้าน
เหมาะสำหรับใช้เป็นหลังคากันสาด หลังคาโรงรถ หลังคาสระว่ายน้ำ หรือส่วนอื่น ๆ ที่ต้องการแสงธรรมชาติให้ผ่านเข้ามาในพื้นที่ที่คุณต้องการ
แผ่นโปร่งแสง SCG ตัวช่วยประหยัดพลังงาน ให้แสงสว่างธรรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องเปิดไฟในเวลากลางวัน อีกทั้งยังป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ได้สูงสุดถึง 99% ด้วยแผ่นฟิล์มคุณภาพสูง สามารถคงสภาพความใสและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน อีกทั้งยังช่วยลดกลิ่นอับ กำจัดความชื้น และทนต่อทุกสภาพอากาศได้ดี โดยสามารถทนความร้อนได้สูงถึง 80°C
แผ่นโปร่งแสง SCG ถูกเคลือบด้วยวัสดุที่มีความคงทุน ไม่เปราะหรือแตกหักง่าย น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายสะดวก ติดตั้งง่าย ลงทุนครั้งเดียวคุ้ม สว่างได้ทุกพื้นที่ในตัวบ้าน
สำหรับใครที่อยากศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาหลังคาบ้าน สามารถตามไปอ่านกันได้ที่ หลังคาบ้านมีปัญหา ทำอย่างไรดี ที่นี่มีคำตอบ กันได้เลยครับ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ