การจะรับสร้างบ้านสักหลังนอกจากจะสร้างบ้านให้สวยงาม แบบบ้านตรงสไตล์ในฝันของลูกค้าแล้ว สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือการรับสร้างบ้านจะต้องมีมาตรฐานการสร้างบ้านที่ดี เพื่อให้บ้านมีความปลอดภัย อยู่อาศัยได้อย่างยาวนาน ไร้ปัญหาจุกจิกที่ทำให้เจ้าของบ้านต้องกังวล

สำหรับใครที่ประกอบธุรกิจรับสร้างบ้านอยู่ วันนี้น้องน่าอยู่จะพาทุกคนไปดู 5 มาตรฐานการสร้างบ้านที่ธุรกิจรับสร้างบ้านที่ดีควรมีจากสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านกันครับ เพื่อจะได้นำมาปรับใช้ในธุรกิจรับสร้างบ้านของตัวเอง ให้เป็นบริษัทรับสร้างบ้านที่มีมาตรฐาน ลูกค้าไว้วางใจ ถ้าพร้อมแล้ว เราไปดูรายละเอียดกันเลยครับ

มาตรฐานการสร้างบ้านที่ธุรกิจรับสร้างบ้านที่ดีควรมี

1. มาตรฐานทางกฎหมาย

การรับสร้างบ้านต้องปฎิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการสร้างบ้านอย่างเคร่งครัด ซึ่งมาตรฐานการสร้างบ้านทางกฎหมาย มีด้วยกัน 4 เรื่อง ดังนี้ครับ

  1. มาตรฐานตามกฎหมายผังเมือง เป็นกฎหมายที่มีขึ้นเพื่อควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยการกำหนดเขตเป็นสีต่าง ๆ ซึ่งแต่ละเขตก็จะอนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากที่ดินได้ต่างกัน โดยกฎหมายฉบับนี้มีขึ้นเพื่อจัดระเบียบเมืองและเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในประเทศนั่นเอง ดังนั้นเราควรศึกษากฎหมายผังเมืองให้ดีก่อนทำการก่อสร้างด้วยนะครับ

สำหรับใครที่อยากศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายผังเมือง สามารถตามไปอ่านกันต่อที่ ทำความรู้จักกฎหมายผังเมือง แผนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้เลยครับ

2. มาตรฐานตามกฎหมายควบคุมอาคาร เป็นกฎหมายที่มีขึ้นเพื่อควบคุมเรื่องความปลอดภัย ดังนั้นการรับสร้างบ้านหรือต่อเติมบ้าน บางทีบริษัทสร้างบ้านอาจไม่สามารถสร้างบ้านตามที่ลูกค้าต้องการได้ 100% เพราะต้องสร้างตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคารกำหนดไว้นั่นเองครับ

สำหรับใครที่อยากศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายควบคุมอาคาร สามารถตามไปอ่านกันต่อที่ เรื่องควรรู้ก่อนสร้างบ้าน ต่อเติมบ้านบนที่ดินเดิม ได้เลยครับ

3. มาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวกับสัญญา สัญญาว่าจ้างรับสร้างบ้านต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เป็นข้อตกลงและยอมรับกันทั้งสองฝ่าย ระหว่างผู้ว่าจ้าง (เจ้าของบ้าน) กับผู้รับจ้าง (บริษัทรับสร้างบ้าน) โดยในสัญญาจะต้องมีรายละเอียดกำหนดไว้อย่างชัดเจน หากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาสามารถใช้สัญญานี้เรียกร้องทางกฎหมายได้

4. มาตรฐานตามกฎหมายความปลอดภัย การรับสร้างบ้านมีการใช้เครื่องจักรและเครื่องมือต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ ดังนั้นจึงต้องมีมาตรฐานการก่อสร้างบ้านที่ควบคุมความปลอดภัย ของการใช้เครื่องจักร เครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งอาจรบกวนพื้นที่ข้างเคียง เช่น เสียง หรือฝุ่นละออง

2. มาตรฐานวิชาชีพ

การรับสร้างบ้านจำเป็นต้องมีนักวิชาชีพที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นผู้รับรองแบบที่ใช้ประกอบการขออนุญาตก่อสร้าง เพื่อให้ได้บ้านที่สวย แข็งแรง และปลอดภัย โดยนักวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการสร้างบ้านมีด้วยกัน 2 อาชีพ ได้แก่

  1. มาตรฐานวิชาชีพสถาปนิก สถาปนิกเป็นผู้ออกแบบอาคาร โดยต้องออกแบบบ้านให้มีมาตรฐานและมีความปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนด
  2. มาตรฐานวิชาชีพวิศวกรรม วิศวกรรมเป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้างให้เป็นไปตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับออกแบบและควบคุมงานให้เป็นไปตามหลักวิศวกรรมความแข็งแรง

3. มาตรฐานการก่อสร้างที่คนทั่วไปและสากลยอมรับ

มาตรฐานการก่อสร้างบ้านยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ยังมีมาตรฐานการก่อสร้างที่คนทั่วไปและสากลยอมรับด้วย จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันต่อเลยครับ

  1. มาตรฐานสมาคมสถาปนิกสยาม คือ มาตรฐานด้านการออกแบบบ้าน มีรายละเอียดของมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ เพื่อควบคุมให้อาคารที่สร้างสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยและสะดวกสบาย
  2. มาตรฐานกรมโยธาธิการ คือ มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการก่อสร้างซึ่งกำหนด โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง เช่น มาตรฐานราวกันตก มาตรฐานทับหลังของหน้าต่าง เป็นต้น
  3. มาตรฐานตามวิศวกรรมสถาน คือ มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของโครงสร้างต่าง ๆ ซึ่งรวบรวมโดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย เช่น มาตรฐานเกี่ยวกับคอนกรีต เหล็กเสริมคอนกรีต ความแข็งแรงของโครงสร้าง เพื่อให้การก่อสร้างเป็นไปตามมาตรฐาน และมีความแข็งแรงปลอดภัยทั้งในระหว่างการก่อสร้างและหลังจากที่อยู่อาศัยไปแล้ว

4. มาตรฐานที่เป็นไปตามสัญญา

เนื่องจากการรับสร้างบ้านเป็นงานที่ใช้ระยะเวลาในการสร้างยาวนาน และมีรายละเอียดมากมาย จึงต้องมีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นหลักฐานข้อตกลงระหว่างผู้ว่าจ้างกับบริษัทรับสร้างบ้าน โดยมีรายละเอียดแบ่งเป็นส่วนต่างๆ คือ

  • รูปแบบ  ในสัญญาต้องมีการกำหนดรูปแบบการสร้าง ขอบเขตงาน ขั้นตอนการก่อสร้าง ขนาดพื้นที่ใช้สอยให้ชัดเจน
  • รายการวัสดุ วัสดุที่ใช้ในการสร้างบ้านมีหลายยี่ห้อ หลายรุ่น ซึ่งความแตกต่างก็มีผลต่อราคา ดังนั้นจึงต้องกำหนดรายการวัสดุที่จะใช้ในการก่อสร้างให้ละเอียด เช่น ชนิด ขนาด ยี่ห้อ สี เพื่อให้มาตรฐานการสร้างบ้านเป็นไปตามสัญญา
  • รายการ ในสัญญารับสร้างบ้านต้องมีการกำหนดรายละเอียดขั้นตอนต่างๆ ไว้ตั้งแต่ต้นจนจบของการดำเนินงานก่อสร้าง เพื่อให้การสร้างบ้านเป็นไปอย่างราบรื่นตามข้อตกลงในสัญญา

5. มาตรฐานที่เป็นไปตามวัสดุที่ใช้

มาถึงมาตรฐานการสร้างบ้านที่ธุรกิจรับสร้างบ้านที่ดีควรมีอย่างสุดท้าย นั่นก็คือมาตรฐานที่เป็นไปตามวัสดุที่ใช้นั่นเองครับ เนื่องจากวัสดุสร้างบ้านมีด้วยกันหลายชนิดหลายประเภท ดังนั้นธุรกิจรับสร้างบ้านจึงควรมีมาตรฐานในการเลือกใช้วัสดุรับสร้างบ้าน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ครับ

  1. มาตรฐานของคุณภาพวัสดุ มอก. คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ใช้ในควบคุมการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ ธุรกิจรับสร้างบ้านควรเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่ผ่าน มอก. เพราะหมายความว่าวัสดุนั้นมีมาตรฐาน มีคุณภาพ และปลอดภัยต่อการใช้งาน
  2. มาตรฐานคุณสมบัติของวัสดุที่เหมาะสมกับประเภทงาน เป็นมาตรฐานที่กำหนดว่าวัสดุชนิดไหน ใช้อย่างไร และใช้กับงานแบบไหน ธุรกิจรับสร้างบ้านควรเลือกวัสดุให้เหมาะสมกับการใช้งานเพราะหากใช้ผิดวัตถุประสงค์การใช้งาน การก่อสร้างบ้านก็จะไม่ได้มาตรฐาน
  3. มาตรฐานการติดตั้งของวัสดุ ธุรกิจรับสร้างบ้านควรศึกษาคุณสมบัติของวัสดุ การใช้งาน และวิธีการติดตั้งให้ดี เพราะถึงแม้วัสดุก่อสร้างจะผลิตมาได้มาตรฐาน แต่หากติดตั้งผิด ก็จะทำให้มาตรฐานการสร้างบ้านไม่ดีเท่าที่ควร และอาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาได้ครับ

บทสรุป

จบกันไปแล้วกับการพาทุกคนไป5 มาตรฐานการสร้างบ้านที่ธุรกิจรับสร้างบ้านที่ดีควรมีกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับใครที่กำลังทำธุรกิจรับสร้างบ้านจะนำไปเป็นแนวทางกันได้นะครับ

สำหรับใครที่กำลังมองหาบริษัทรับสร้างบ้านในขอนแก่นหรือจังหวัดอื่น ๆ สามารถเลือกค้นหารวมบริษัทรับสร้างบ้านขอนแก่นได้ที่เว็บไซต์น่าอยู่ โดยสามารถเลือกค้นหาได้ตามชื่อบริษัท แบบบ้านที่เราต้องการตามงบประมาณและสไตล์ที่ถูกใจได้เลยครับ

บทความแนะนำ

อ้างอิง

ติดตาม "ขอนแก่นน่าอยู่" เพื่อไปหาบ้านมือ 1, หาคอนโด, บ้านมือ 2, ที่ดินและหาเช่า/ กดหอพักทั่วเมืองขอนแก่นได้ที่สามารถพบได้ที่นี่