หลายคนอาจยังไม่คุ้นชินกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมากนัก เพราะเป็นกฎหมายใหม่ที่เข้ามาแทนที่ภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง และภาษีบำรุงท้องที่ที่มีความซ้ำซ้อนกัน ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปี 2567 ที่กระทรวงมหาดไทยประกาศออกมามีการเปลี่ยนเเปลงจากปีก่อนเล็กน้อย โดยจะมีการเก็บเต็ม 100% ไม่มีส่วนลดเหมือนปีก่อนๆ เเต่จะมีการขยายระยะเวลาการจ่ายเพิ่มไปอีกสองเดือนโดยสิ้นสุดในเดือนมิถุนายน 2567
ดังนั้นในบทความนี้น่าอยู่จะพาทุกคนไปทำความรู้จักภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกัน ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยครับ
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จัดเก็บปี 2567 คืออะไร
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหรือเรียกสั้น ๆ ว่าภาษีที่ดิน เป็นการเก็บภาษีรายปีที่คำนวณภาษีจากมูลค่าของที่ดินและสิ่งก่อสร้างที่เราครอบครอง โดยเป็นภาษีที่จ่ายแยก ไม่เกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
โดยสามารถไปชำระภาษีได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่เป็นผู้จัดเก็บภาษี แต่สำหรับกรุงเทพฯต้องไปชำระที่สำนักงานเขต และสำหรับพัทยาต้องไปชำระที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา
ผู้ที่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะดูจากความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งคือการมีชื่ออยู่ในโฉนดที่ดิน โดยแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
- เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
- ผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นทรัพย์สินของรัฐ (สามารถเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้)
ส่วนในกรณีที่มีผู้ครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมากกว่า 1 คน ทุกคนจะต้องรับผิดชอบภาษีร่วมกัน โดยจะตกลงกันอย่างไรก็ได้ และมอบหมายให้เจ้าของเพียงคนเดียวมาชำระภาษีที่ดิน
สำหรับใครที่สนใจอยากรู้เกี่ยวกับค่าโอนที่ดิน สามารถตามไปอ่านได้ที่ ค่าโอนที่ดินฉบับอัพเดท 2567 พร้อมวิธีคำนวณแบบง่าย ๆ กันได้เลยครับ
ประเภทของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2567
สำหรับใครที่ไม่อยากอ่านรายละเอียดเยอะ สามารถเลื่อนลงไปอ่านวิธีคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างด้านล่างได้เลยครับ
ประเภทของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2567 มีด้วยกัน 4 ประเภท ได้แก่ ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม, ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย, ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม และที่ดินรกร้างว่างเปล่า ซึ่งในปี 2567 มีรายละเอียดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2567 ดังนี้
- ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม เป็นที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีการใช้ประโยชน์เพื่อเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ซึ่งเจ้าของจะต้องเสียภาษีตามอัตราภาษีที่ดิน 2567 ดังนี้
- กรณีที่เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา
- กรณีที่เจ้าของเป็นนิติบุคคล
2. ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย เป็นที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีการใช้ประโยชน์เพื่ออยู่อาศัย เช่น บ้านและที่ดินที่อยู่อาศัยเอง, บ้านหลังที่ 2 ให้พ่อแม่อยู่อาศัย เป็นต้น โดยมีรายละเอียดการจ่ายภาษีตามอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2567 ดังนี้
- บุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
- บุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง
- บุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง 2 หลังขึ้นไป
3. ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม เป็นที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีการใช้ประโยชน์ด้านพาณิชยกรรม เช่น ออฟฟิศ โรงแรม ร้านอาหาร เป็นต้น โดยมีรายละเอียดการจ่ายภาษีตามอัตราภาษีที่ดิน 2567 ดังนี้
4. ที่ดินรกร้างว่างเปล่า เป็นที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ได้มีการใช้ประโยชน์ใด ๆ ต้องเสียภาษีที่ดินเช่นกัน โดยมีรายละเอียดการจ่ายภาษีตามอัตราภาษีที่ดิน 2567 ดังนี้
วิธีคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2567
หลังจากศึกษาอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2567 ไปแล้ว ต่อไปจะเป็นวิธีคำนวณภาษีที่ดิน โดยมีสูตรการคำนวณ ดังนี้
- ที่ดินที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง
- สูตร มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย
- ยกตัวอย่าง น้องน่าอยู่ครอบครองที่ดินมูลค่า 70 ล้านบาท ตามอัตราภาษีที่ดินมูลค่า 50-75 ล้านบาท มีอัตราภาษี 0.03% สามารถคำนวณได้ ดังนี้ 70ล้านบาท x 0.03% = น้องน่าอยู่ต้องจ่ายภาษีที่ดินประจำปี 21,000 บาท
2. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
- สูตร (มูลค่าที่ดิน+มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย
- ยกตัวอย่าง น้องน่าอยู่ครอบครองที่ดินมูลค่า 70 ล้านบาท และสิ่งปลูกสร้างมูลค่า 20 ล้านบาท ตามอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2567 มูลค่า 75-100 ล้านบาท มีอัตราภาษี 0.05% สามารถคำนวณได้ ดังนี้ (70ล้านบาท + 20ล้านบาท) x 0.05% = น้องน่าอยู่ต้องจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำปี 45,000 บาท
3. ห้องชุด
- สูตรมูลค่าห้องชุด x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย
- ยกตัวอย่าง น้องน่าอยู่ครอบครองห้องชุดมูลค่า 60 ล้านบาท ตามอัตราภาษีที่ดินมูลค่า 50-75 ล้านบาท มีอัตราภาษี 0.03% สามารถคำนวณได้ ดังนี้ 60ล้านบาท x 0.03% = น้องน่าอยู่ต้องจ่ายภาษีที่ดินประจำปี 18,000 บาท
โทษหากไม่จ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
การเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นสิ่งที่เราต้องทำตามหน้าที่และตามกฎหมาย หากไม่ชำระภาษีจะถือว่ามีความผิดและต้องรับโทษตามกฎหมาย ซึ่งโทษแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้
- โทษปรับ เป็นบทลงโทษเบื้องต้นต่อคนที่ไม่ชำระภาษีในเวลาที่กำหนด ซึ่งโทษปรับมีเกณฑ์ดังนี้
- เสียเบี้ยปรับ 40% ของภาษีค้างชำระ ในกรณีชำระล่าช้าเกินเวลาจากหนังสือแจ้งเตือนที่ได้รับ
- เสียเบี้ยปรับ 20% ของภาษีค้างชำระ ในกรณีชำระล่าช้า แต่ชำระภายในระยะเวลาที่แจ้งในหนังสือแจ้งเตือน
- เสียเบี้ยปรับ 10% ของภาษีค้างชำระ ในกรณีชำระล่าช้า แต่ชำระก่อนได้รับหนังสือแจ้งเตือน
2. ดอกเบี้ยเงินเพิ่ม เป็นการคิดเงินเพิ่ม โดยจะคิดในอัตราดอกเบี้ย 1% ต่อเดือนของภาษีค้างชำระ โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่เลยกำหนดเวลาชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
3. โทษทางอาญา เป็นโทษระดับสูงสุด ในกรณีที่พบว่าเรามีความพยายามแจ้งความเท็จ หรือพยายามสร้างหลักฐานเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีที่ดิน อาจจะต้องถูกลงโทษจำคุกสูงสุด 2 ปี หรือปรับสูงสุดไม่เกิน 40,000 บาท
ดังนั้นเราควรเสียภาษีที่ดินให้ตรงเวลาที่กำหนด แต่หากไม่สามารถเสียภาษีที่ดินตรงเวลาได้ สามารถยื่นขอผ่อนชำระภาษีได้ 3 เดือนโดยไม่เสียดอกเบี้ย สำหรับผู้ที่มีวงเงินตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป โดยสามารถไปยื่นในที่ที่เราเสียภาษีได้เลย
แนะนำเทคนิคประหยัดภาษีที่ดิน
ก่อนจากกันไป น่าอยู่ได้นำทริคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการช่วยประหยัดภาษีมาแชร์ให้ทุกคนกัน ไปดูกันเลยครับ
สำหรับใครที่มีบ้าน คอนโดหลายหลัง ให้ย้ายชื่อไปที่อยู่อาศัยที่มีมูลค่าสูงสุด เพื่อใช้สิทธิในการยกเว้นภาษี เนื่องจากกฎหมายได้ยกเว้นภาษีในกรณีบ้านหลักหลังแรกที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านสูงสุดถึง 50ล้านบาท
หรือกระจายการถือครองไปยังญาติพี่น้องหรือคนใกล้ชิด เพื่อเป็นการใช้สิทธิในการยกเว้นภาษีบ้านหลักหลังแรก และการเปลี่ยนที่ดินเปล่ามาทำประโยชน์ด้านเกษตรกรรม เพราะการปล่อยให้ที่ดินรกร้างต้องเสียภาษีที่ดินมากกว่าการทำเกษตรกรรม และการทำเกษตรกรรมอาจทำให้เรามีรายได้เพิ่มขึ้นอีกช่องทางด้วย
สำหรับใครที่อยากจะศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับเทคนิคการประหยัดภาษีที่ดินเพิ่มเติม สามารถตามไปอ่านกันได้ที่ ทำเกษตรกรรม เลี่ยงภาษีที่ดินได้จริงหรือไม่
บทสรุป
จบกันไปแล้วกับรายละเอียดเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2567 ที่ควรรู้ หวังว่าทุกคนจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมากขึ้นนะครับ อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น ทุกคนอย่าลืมศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมหรือปรึกษาเจ้าหน้าที่ก่อนชำระภาษีกันด้วยนะครับ
สำหรับใครที่กำลังมองหาซื้อที่ดินขอนแก่นอยู่ สามารถเข้ามาเลือกชม ประกาศซื้อขายที่ดินขอนแก่น ได้ที่เว็บไซต์ขอนแก่นน่าอยู่ แหล่งรวมประกาศขายที่ดินสวย ๆ ทำเลฮิตในขอนแก่นกว่า 400 แห่ง และยังมีสาระน่ารู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินที่น่าสนใจมาให้ทุกคนได้อ่านกันอีกด้วย
บทความแนะนำ
- บทความชวนรู้จักราคาประเมินที่ดินพร้อมวิธีประเมินง่าย ๆ
- บทความอยากขายที่ดินต้องทำยังไง แชร์เคล็ดลับให้ขายได้เร็ว
- บทความรวมวิธีเช็คเครดิตบูโร ง่ายและสะดวกสุด ๆ
อ้างอิง
- บทความสรุปครบจบ! ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เสียเท่าไร ใครที่ต้องจ่าย ฉบับปี 2567
- บทความเรื่องควรรู้ภาษีที่ดิน 2567 ต้องจ่ายเท่าไหร่ และใครบ้างที่ต้องจ่าย เช็คอัตราภาษีได้ที่นี่
กดติดตาม "ขอนแก่นน่าอยู่" เพื่อ หาบ้านมือ 1, หาคอนโด, บ้านมือ 2, ที่ดิน รวมถึงหาเช่า/หอพักทั่วเมืองขอนแก่นเพิ่มเติมได้ที่บนเว็บไซต์
- Website : www.NaYoo.co (ไม่มี m)
- Facebook : ขอนแก่นน่าอยู่
- YouTube : https://www.youtube.com/c/khonkaennayoo