น่าอยู่เรามีพนักงานในหลากหลายสายงาน ไม่ว่าจะเป็นงานสายเทคโนโลยี งานขาย งานออกเเบบกราฟฟิก งานออกเเบบวิดีโอ งานเขียนคอนเทนต์ รวมถึงงานด้านการตลาด รูปเเบบการทำงานเราจึงมีหลากหลายปรับเปลี่ยนไปตามบริบทหน้างานที่เจอ เเต่ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานไหนสิ่งที่พนักงานน่าอยู่ยึดถืออยู่เสมอ คือ การทำงานเเบบ Flat Organization ภายใต้ Core Value 3 อย่างสำคัญขององค์กร ที่พนักงานทุกคนยึดถือเเละใช้อ้างอิงในกระบวนการการตัดสินใจต่างๆ ภายในบริษัทอยู่เสมอ จะเรียกว่าเป็นดาวเหนือที่คอยช่วยนำทางให้กลับมาอยู่ในร่องในรอย ในช่วงที่เผลอไผลออกทะเลไปก็ว่าได้ โดย Core Value 3 อย่าง ของน่าอยู่ประกอบด้วย
- Passion for customer ทำงานโดยมองความพึงพอใจลูกค้าเป็นสำคัญอันดับหนึ่งในรูปแบบ customer centric (ข้อระวัง : Customer คือ ไม่ใช่เเค่ลูกค้าเเต่คือคนที่ได้ประโยชน์หรือความเดือดร้อนจากผลลัพธ์งานของเรา)
- Impact . ทำสิ่งที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีในวงกว้างต่อลูกค้า ตนเอง ทีม เเละบริษัท
(ข้อระวัง : ให้มองผลกระทบต่อคนอื่นทั้งด้านดีเเละด้านลบ) - Accountability กล้ารับปากเเละรับผิดชอบต่องานใหญ่ที่ได้รับมอบหมาย
(ข้อระวัง : อย่ารับปากโดยที่ยังไม่ได้ประเมินผลกระทบรอบด้าน)
ดังนั้นการประเมินสมรรถนะของพนักงาน (Competency) จึงล้อตาม Core Value ขององค์กรเป็นหลักซึ่งเน้นในส่วนของทักษะเเละความสามารถใน 3 ด้าน คือ
- ด้าน Technical Skills
- ด้าน Leadership Skills
- ด้าน Soft Side
โดยมีตัวชี้วัดการทำงานเเละรายงานผล (KAs) ในการทำงานเเต่ละวันสอดคล้องกันทั้ง OKRs ของตนเอง, OKRs ทีม เเละ OKRs บริษัท
การทำงานเเบบ Flat Organization
ที่น่าอยู่เราออกแบบการทำงานภายในองค์กรให้พนักงานทุกคนอยู่ในระดับเดียวกันมากที่สุด หัวหน้าไม่มีอำนาจเบ็ดเสร็จจนเกินไป และทุกคนในองค์กรมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่และเท่าเทียมกัน
การทำงานแบบนี้เราเรียกว่า "การทำงานเเบบ Flat Organization" รูปแบบการทำงานจะไม่มีบอสหรือหัวหน้าใหญ่ ที่เอาแต่นั่งอยู่บนสุด คอยคุมเข้มสั่งการ แต่หัวหน้าจะกลายมาเป็นคนที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา และเป็นผู้คอยอำนวยความสะดวกให้กับทีมมากกว่า
ข้อดีของการจัดการทำงานเเบบ Flat Organization คือ พนักงานจะมีการพัฒนาศักยภาพของตนเองเเละได้รับการโปรโมทที่รวดเร็วขึ้น จากการสร้างผลงานออกมาได้ไวผ่านการมีอำนาจในการตัดสินใจในระดับที่เหมาะสม ไม่ต้องนั่งรอคอยผู้บริหารมาตัดสินใจเสมอไป ซึ่งจะทำให้ทั้งตัวพนักงานเเละทีมสามารถตัดสินใจได้เร็ว ปรับเปลี่ยนให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องได้ในทันที
สำหรับการโปรโมทพนักงานที่มีการทำงานเเบบ Flat Organization ในน่าอยู่ เราจะมีการวางรูปแบบการโปรโมทพนักงานตามความสามารถเเละศักยภาพไว้ตามลำดับขั้น (Level) โดยมีหัวข้อชี้วัดในการประเมิน Performance ดังนี้
หัวข้อที่ 1 ประเมินความสามารถด้านต่างๆ (Problem Solving)
1.1 การการคิดวิเคราะห์เเละแก้ปัญหาที่ซับซ้อน
1.2 การคิดอย่างเป็นระบบเเละมีกลยุทธ์
1.3 การแก้ปัญหาในสภาวะวิกฤต
หัวข้อที่ 2 ภาวะความเป็นผู้นำ
2.1 มีความริเริ่ม และ แสดงออกถึงความเป็นผู้นำ
2.2 สร้างแรงจูงใจ และ ให้คำแนะนำทีมได้
2.3 มีอิทธิพล หรือสร้างผลงานเป็นที่ประจักษ์ต่อทีม
หัวข้อที่ 3 การทำงานร่วมกันเเละความเข้ากันกับวัฒนธรรมขององค์กร
3.1 การทำงานเป็นทีม
3.2 การแบ่งปันเพื่อนร่วมงาน
3.3 การเปิดรับฟังผู้อื่น
หัวข้อที่ 4 การเป็นเเบบอย่างที่ดี
4.1 การสร้างแรงบันดาลใจด้วยตัวเอง มีความทะเยอทยาน
4.2 มุ่งการทำงานให้เสร็จเเละสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ( Get things done)
4.3 ความสนใจใฝ่รู้
หัวข้อที่ 5 ประเมินผลลัพธ์การทำงาน (Execution)
5.1 มีทักษะความสามารถทำงานจนได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายของทีม (Achivement)
5.2 การใช้ข้อมูลวิเคราะห์ ปรับเปลี่ยนจนงานบรรลุเป้าหมาย (PDCA)
5.3 การติดตามของทีมจนบรรลุเป้าหมาย พร้อมสรุปัญหาเเละความสำเร็จได้
- พนักงานระดับปฏิบัติการ (Execution - Level)
- พนักงานระดับซีเนียร์ (Senior Executive - Level)
- พนักงานระดับลีดเดอร์ (Team Lead - Level)
- พนักงานระดับบริหาร (Management - Level)
- พนักงานระดับจัดการ (C-Level)
โดยพนักงานในเเต่ละระดับจะมีบทบาท หน้าที่ เเละความรับผิดชอบเเตกต่างกันตามสมรรถนะ (Competency) ของเเต่ละคนตามสโคปงานที่ได้รับมอบหมาย
ระดับปฏิบัติการ (Execution - Level)
เป็นทีมเคลื่อนงานขององค์กร เปรียบสเมือนน็อตในเครื่องยนต์ที่เเม้จะเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ เเต่ถ้าหลุดหายไปจะทำให้เครื่องยนต์ใหญ่คือองค์กรสะดุดเเละหยุดลงได้
ควรมีทักษะในการพัฒนางานของตน (Technical Skills) อย่างน้อย ดังนี้
- มีทักษะพื้นฐานในงานของตนเอง สามารถใช้เครื่องมือที่ถนัดสร้างผลงานให้ได้คุณภาพภายใต้เเรงกดดันในช่วงระยะเวลาที่กำหนด โดยอาจยังมีผู้เเนะนำหรือไกด์ไลน์
- ส่งงานที่มีคุณภาพได้ครบในระยะเวลาที่กำหนดเเละสามารถปิดจบงานได้ด้วยตัวเอง
ควรมีทักษะภาวะผู้นำที่ดี (Leadership Skills) อย่างน้อย ดังนี้
- ทำงานสอดคล้องกับเเนวคิด customer centric ตาม Core Value ของน่าอยู่ในส่วนของ Passion for customer
- ประเมินเเละมองผลกระทบของงานตนเองให้ครอบคลุมต่อผู้อื่นทั้งด้านดีเเละด้านร้ายก่อนเริ่มลงมือทำงาน พร้อมทั้งติดตามผลลัพธ์งานของตนเองจนสรุปได้ว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งเป็น Core Value ของน่าอยู่ในส่วนของ Impact
- ตัดสินใจในการทำงานได้บางส่วนในระดับที่เหมาะสมตามสโคปงานที่ได้รับมอบหมายเเละมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเอง โดยไม่สร้างผลกระทบด้านลบต่อผู้อื่น ตาม Core Value ของน่าอยู่ในส่วนของ Accountability
ทักษะที่จำเป็นในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นเเละการทำงานเป็นทีม (Softside) มีดังนี้
1.เข้าใจการทำงานตามหลักเเนวคิดการเติบโต (Growth Mindset)
- พร้อมที่จะรับมือกับความท้าทาย
- มีความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ
- เชื่อว่า ความสามารถต่าง ๆ เกิดขึ้นและพัฒนาได้จากการพยายามและฝึกฝน
- มองว่าความล้มเหลวหรือความผิดพลาดเป็นสิ่งที่จะนำพาให้เราเติบโต
- มีทัศนคติที่มองปัญหาจากตัวเองก่อนเสมอเเละพร้อมเปิดรับฟีดเเบ็กจากทุกคน
- มีการตั้งเป้าหมายในการพัฒนาตนเอง พร้อมที่จะเรียนรู้หรือปรับปรุงเมื่อได้รับคำวิพากวิจารณ์ ตั้งใจฟังเเละคิดตามอย่างตั้งใจ
- ทัศนคติที่เปิดรับ ไม่ต่อต้าน สนุกกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และพร้อมที่จะพัฒนาความฉลาด ความสามารถ และทักษะด้านอื่น ๆ ไปพร้อม ๆ กัน
- รู้สึกได้รับแรงบันดาลใจจากผู้อื่น แทนที่จะรู้สึกว่าผู้อื่นกำลังคุกคามตนเอง อย่าหวาดหวั่นเมื่อเห็นผู้อื่นเเซงหน้าตนเองเเต่ให้เรียนรู้จากเขา
2. มีการวิเคราะห์เเละเเก้ไขปัญหาเชิง Why-Why Analysis ในการทำงานอยู่เสมอ
Why-Why Analysis เป็นหลักเเนวคิดชวนตั้งคำถามต่อการทำงานว่า “ทำไม” อยู่เสมอ ซึ่งเป็นทักษะเบื้องต้นของการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้ของปัญหาที่ทำให้เกิดการมองเห็น “ผลกระทบ” และ “สาเหตุ” เเละทำให้เราเข้าใจได้อย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ โดยไม่ให้เกิดการตกหล่นของสาเหตุของปัญหา ซึ่ง Why-Why Analysis จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์เเละเเก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี
สำหรับพนักงานน่าอยู่ทุกระดับ สิ่งที่ยึดถืออยู่เสมอ คือ การทำงานเเบบ Flat Organization ภายใต้ Core Value 3 อย่างสำคัญขององค์กร
ระดับซีเนียร์ (Senior Executive - Level)
เป็นพี่ใหญ่ที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรในนิยามที่ว่า "ผู้ที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม" เพราะเป็นบุคคลที่รู้หน้าที่ รู้ว่าควรทำสิ่งใด ในช่วงเวลาใดเพื่อช่วยเเก้ปัญหาให้กับทีมได้ทันท่วงที แม้ว่าตัวเขาเองจะไม่ได้มีความรู้ในด้านนั้นทั้งหมดก็ตาม
การเป็นซีเนียร์นั้นสิ่งสำคัญที่ต้องมีเพิ่มเติมขึ้นมาจากระดับปฏิบัติการ คือ "ความรับผิดชอบ" เเละที่สำคัญต้องผ่านการประเมินว่ามีทักษะเเละความสามารถของตำเเหน่งปฏิบัติการ (Execution - Level) ครบทั้ง 3 ด้าน คือ Technical Skills, Leadership Skills เเละ Soft Side มาก่อนจึงจะสามารถขยับตำเเหน่งขึ้นมาเป็นซีเนียร์ ได้
ทักษะเเละความสามารถของตำเเหน่งปฏิบัติการ (Execution - Level) ที่ต้องผ่านการประเมินมีรายละเอียดตาม : https://nayoo.co/khonkaen/blogs/nayoo-execution-level
ควรมีทักษะในการพัฒนางานของตน (Technical Skills) อย่างน้อย ดังนี้
- มีทักษะพื้นฐานในงานของตนเองไม่น้อยกว่าตำเเหน่งปฏิบัติการ (Execution - Level)
- เป็นผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำปรึกษา ชี้เเนะเเนวทางการทำงาน รวมถึงคอมเมนต์งานตามพื้นฐานเเละหลักการทางวิชาชีพที่ถูกต้องให้เเก่ผู้อื่นได้
ควรมีทักษะภาวะผู้นำที่ดี (Leadership Skills) อย่างน้อย ดังนี้
- ทำงานสอดคล้องกับ Core Value ขององค์กร เเละสร้าง Culture ที่ดี
- มีกระบวนการแก้ไขปัญหา (problem solving) อย่างเป็นระบบ โดยการค้นหาสาเหตุของปัญหาและเสนอทางเลือกเพื่อแก้ปัญหานั้นๆ พร้อมทั้งเลือกเเนวทางการเเก้ไขปัญหาที่เหมาะสมที่สุดให้กับทีม
- สามารถพาทีมเข้าทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นได้เป็นอย่างดี เพื่อให้งานมีผลลัพธ์ที่ดีเเละสอดคล้องกับ OKRs (Collaboration and Cross-functional work)
- วิเคราะห์ สังเคราะห์ กลั่นกรองความรู้เเละบอกได้ว่าผลลัพธ์งานที่เกิดขึ้นมีข้อดี-ข้อเสียตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างไร รวมถึงมีผลกระทบเเละข้อควรระวังต่อหน่วยงานอื่นอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งเเชร์ความรู้นี้ไปยังบุคคลอื่นได้ (showing concern for success)
- สร้างบรรยากาศการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข (well being)
ทักษะที่จำเป็นในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นเเละการทำงานเป็นทีม (Softside) มีดังนี้
- เเนวคิดเเบบ Growth mindset เเละการวิเคราะห์ปัญหาเเบบ Why-Why Analysis
- การเปลี่ยนแปลงตัวเองผ่านการเรียนรู้ เพื่อให้เท่าทัน ด้วยการปรับความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมออย่างต่อเนื่อง เรียกว่า “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” หรือ “Lifelong Learning”
- เป็นตัวอย่างที่ดีในทุกเรื่องเเก่น้องๆ (Role Model) ทั้งการสอนเเบบการทำให้ดู และ เห็นอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ(Passion)โดยตัวอย่างที่ดีตามหลัก Growth Mindset เช่น
- มีทัศนคติที่ดีกับองค์กร ลูกค้า เพื่อนร่วมงาน
- มีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับค่านิยมหลักขององค์กร
- เป็นคนที่คิดบวกและสื่อสารเชิงบวก
- มีความเป็น Ownership สูง เอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
- เป็นที่ปรึกษาที่ดี ดูแลช่วยเหลือผู้อื่น
- สอนงานคนอื่น แบ่งปันความรู้ (ไม่กั๊ก)
- เน้นการป้องกันแก้ไขที่ปัญหา มากกว่าการจับผิดเพ่งโทษ
- พัฒนาตัวเอง เรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ พยายามเรียนรู้งานใหม่ๆ
- เปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นใหม่และความคิดเห็นที่แตกต่าง
- ให้เกียรติผู้อื่นเสมอและให้ความสำคัญกับคำมั่นสัญญา
- กล้าพูดในสิ่งที่เป็นความจริง ตรงประเด็นแต่ไม่แรง
- เข้าใจในสถานการณ์บริษัทและ Key Success ของธุรกิจ
2. มีการรับเเละให้ Feedback อยู่เสมอ
รับเเละให้ Feedback ให้เป็นตามหลักการเพื่อช่วยให้ตัวเราเองเเละคนอื่นพัฒนายิ่งขึ้น
- เริ่มด้วยจุดแข็ง หรือ จุดดี
- เน้นที่ความคิด
- สะกิดให้พัฒนา
- ให้เวลารับฟัง
สำหรับพนักงานน่าอยู่ทุกระดับ สิ่งที่ยึดถืออยู่เสมอ คือ การทำงานเเบบ Flat Organization ภายใต้ Core Value 3 อย่างสำคัญขององค์กร